วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วัฒนธรรมไทย

ประเภทของวัฒนธรรม
มีการจำแนกเป็น 2 แนวคิด ดังนี้
              - แนวคิดที่ 1 ตามหลักด้านสังคมวิทยา
              - แนวคิดที่ 2 ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2585 แนวคิดที่ 1 แบ่งประเภท วัฒนธรรมตามหลักทางด้านสังคมวิทยา ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากสังคมโดยทั่วไป แบ่งได้ 2 ประเภท ตามลักษณะสภาพสังคมในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้จะต้องสอดคล้องเป็นเหตุ เป็นผลต่อกัน แต่รูปแบบที่มีลักษณะสวนทางกันซึ่งแนวคิดนี้จำแนกเป็น



               1. วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material Culture) หมายถึง วัฒนธรรมด้านรูปธรรมที่สามารถสัมผัสได้ มีรูปร่าง จากสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ผลิตขึ้นมาใช้ในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร บ้านเรือน ยารักษาโรค เครื่องมือเครื่องใช้ เป็นต้น

                2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุ (Non material Culture) หมายถึง วัฒนธรรมด้านนามธรรมที่ไม่สามารถสัมผัสได้ เช่น ภาษา ความคิด ค่านิยม ถ้อยคำที่ใช้พูด ถ้อยคำที่ใช้พูด ประเพณี ความเชื่อที่มนุษย์ยึดถือ เกี่ยวกับศาสนา ลัทธิทางการเมือง วัฒนธรรมประเภทนี้บางครั้งรวมเอากติกาการแข่งขันกีฬา แนวคิดเกี่ยวกับ ยุทธวิธีของผู้แข่งขัน และการดูการแข่งขันไว้ด้วย โดยทั่วไปแล้วการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจะต้องเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ทั้งวัฒนธรรมทางวัตถุและ วัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุ แต่ถ้าวัฒนธรรมทั้งสองส่วนนี้เปลี่ยนแปลงไม่เท่ากัน ก็จะทำให้เกิด ภาวะวัฒนธรรมล้า (Culture Lag) ส่วนใหญ่วัฒนธรรมทางวัตถุมักเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าวัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุ เช่น สังคมไทยเรารับเอาความเจริญทางวัตถุจากตะวันตกมาใช้ ทั้งเครื่องอุปโภคบริโภค ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ แต่ส่วนใดที่ไม่ใช้วัตถุ เช่น เรื่องระเบียบวินัย ความรับผิดชอบลักษณะนิสัยการทำงาน ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด ยังเปลี่ยนแปลงช้ากว่าส่วนที่เป็นวัตถุ จึงทำให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัยหา จราจร ปัญหาอาชญากรรม หรือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น